This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Load cell โหลดเซลล์

โหลดเซลล์ (Load cell )

โหลดเซลล์ คือ เซนเซอร์ที่สามารถแปลงค่าแรงกด หรือแรงดึง เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าได้ เหมาะสำหรับการทดสอบคุณสมบัติทางกลของชิ้นงาน (Mechanical Properties of Parts) โหลดเซลล์ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ได้แก่ การชั่งน้ำหนัก การทดสอบแรงกดของชิ้นงาน การทดสอบความแข็งแรงของชิ้นงาน การทดสอบการเข้ารูปชิ้นงาน(Press fit) ใช้สำหรับงานทางด้านวัสดุ โลหะ ทดสอบโลหะ ชิ้นส่วนรถยนต์ วิศวกรรมโยธา ทดสอบคอนกรีต ทดสอบไม้ ฯลฯ แบ่งออกเป็น 5 แบบ ดังนี้

โหลดเซลล์แบบสเตรนเกจ (Strain Gauge Load cell) หลักการของโหลดเซลล์ ประเภทนี้ก็คือ เมื่อมีน้ำหนักมากระทำ ความเครียด(Strain) จะเปลี่ยนเป็นความต้านทานทางไฟฟ้าในสัดส่วนโดยตรงกับแรงที่มากระทำ ปกติแล้วมักจะใช้เกจวัดความเครียด 4 ตัว (วงจร Wheatstone Bridge Circuit) ในการวัดโดยเกจตัวต้านทานทั้งสี่จะเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อใช้แปลงแรงที่กระทำกับตัวของมันไม่ว่าจะเป็นแรงกดหรือแรงดึงส่ง สัญญาณออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้า โดยที่แรงดันไฟฟ้าที่ได้จะมีหน่วยเป็น mV/V หมายความว่า ถ้าจ่ายแรงดัน 10 V ให้กับ Load cell ที่มี Spec. 2 mV/V ที่ Full load สมมุติว่าน้ำหนักเป็น 2,000 กิโลกรัม
ดังนั้นเมื่อมีแรงกระทำต่อ Load cell ที่น้ำหนัก Full load สัญญาณที่จะได้ก็จะได้เท่ากับ 20 mVซึ่งก็พอจะแจงคร่าวๆ คือ

0 Kg = 0 mV
1000 Kg = 10 mV
2000 Kg = 20 mV

โหลดเซลล์แบบไฮดรอลิก (Hydraulic Load Cell) ลักษณะของการทำงานก็คือจะวัดน้ำหนักจากการเปลี่ยนแปลงความดันของของเหลวภายในระบบเมื่อมีแรงมากระทำที่แท่นรับน้ำหนักในโหลดเซลล์แบบไฮดรอลิกที่มีแผ่นไดอะแฟรม โดยแรงจะถูกส่งผ่านลูกสูบเป็นผลให้ของเหลวภายในช่องแผ่นไดอะแฟรมถูกกดอัด ซึ่งการวัดแรงที่เกิดขึ้นสามารถวัดได้จากความดันของของเหลวความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำกับแรงดันของของเหลวนี้ มีลักษณะเป็นแบบเชิงเส้นและไม่ขึ้นกับอุณหภูมิและปริมาณของของเหลวในกระบอกสูบโดยปกติโหลดเซลล์แบบนี้จะความแม่นยำ(Accuracy) ในการวัดอยู่ที่ประมาณ 0.3 % ที่ Full Scale ซึ่ง ระดับความแม่นยำนี้ก็เป็นที่ยอมรับได้ในงานอุตสาหกรรมทั่วไป

ข้อดีของโหลดเซลล์แบบนี้คือ สามารถที่จะใช้ในพื้นที่ที่อันตราย(Hazardous Area) เช่น พวกโรงงานที่มีวัตถุไวไฟต่างๆ เนื่องจาก Load cell แบบนี้ไม่ต้องใช้ไฟฟ้าในการวัด

สำหรับข้อเสียของโหลดเซลล์แบบไดอะแฟรมนี้ คือสามารถรับแรงสูงสุดได้ไม่เกิน 1000 psig เท่านั้นครับซึ่งจะไม่เหมาะกับการใช้ในงานที่ต้องการวัดแรงดันสูง

โหลดเซลล์แบบนิวแมติก(Pneumatic Load cell) ซึ่งจะทำงานโดย ใช้หลักการสมดุลแรงเช่น
เดียวกับแบบไฮดรอลิก แต่ต่างกันที่ โหลดเซลล์แบบนี้จะมีความแม่นยำกว่าแบบไฮดรอลิก เพราะว่า มีการใช้ช่องว่างหลายช่อง ในการหน่วงความดันของ
ของเหลวเพื่อลดแรงสั่นสะเทือน โหลดเซลล์แบบนี้ มักจะใช้วัดสิ่งของที่มีน้ำหนักไม่มากนักในงาน อุตสาหกรรมที่ต้องการความสะอาดและความปลอดภัยสูง

สำหรับจุดเด่นของโหลดเซลล์แบบนี้ คือ สามารถทนแรงกระแทกได้สูงและไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมินอกจากนี้ ในระบบนิวเมติก จะไม่ใช้ของเหลวในเครื่องมือวัด เหมือนกับระบบไฮดรอลิก ทำให้ไม่มีของเหลวมาปนเปื้อนโดนสิ่งที่ต้องการจะวัดในกรณีที่ไดอะแฟรมมีการแตกร้าว

สำหรับข้อเสีย ของ Load cell แบบนี้มีคือความเร็วในการตอบสนองต่ำและต้องใช้งานในสภาวะแวดล้อมที่สะอาดปลอดความชื้น อีกทั้งยังจะต้องมีการควบคุมอากาศหรือไนโตรเจนภายในเครื่องให้เหมาะสม

ไพโซรีซิสทีฟ (PiezoreSistive)ซึ่งมีการทำงานเหมือนกับเกจวัดความเครียด แต่ไพโซรซิสทีฟ สามารถผลิตสัญญาณออกมาได้ในระดับสูงจึงเหมาะสำหรับ เครื่องชั่งน้ำหนักที่ไม่ซับซ้อนในการวัดเนื่องจากสามารถต่อเข้าโดยตรงกับส่วนแสดงผล อย่างไรก็ตามเครื่องมือวัดลักษณะนี้ได้รับความนิยมลดลงเรื่อย ๆ เพราะตัวขยายสัญญาณที่มีคุณภาพดีนั้นมีราคาถูกลง นอกจากนี้ ไพโซรีซิสทีฟ (PiezoreSistive) ยังมีข้อเสียคือความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณที่ออกกับน้ำหนักที่ วัดมีลักษณะไม่เป็นเชิงเส้น

แมกเนโตสเตร็กทีฟ (Magnetostrictive)การทำงานของเซนเซอร์แบบนี้ขึ้นอยู่กับ การเปลี่ยนแปลงในการแผ่สัญญาณแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวรที่อยู่ภายใต้แรงที่มากระทำแรงทำให้เกิดการผิดรูปของสนามแม่เหล็กและจะให้เกิดสัญญาณที่เป็นสัดส่วนโดยตรงต่อแรงที่มากระทำ ซึ่งจะใช้ หลักการการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กนั่นเองครับโดยอุปกรณ์ลักษณะนี้จะตรวจวัดการเคลื่อนที่ของแกนแม่เหล็ก และวัดการเหนี่ยวนำของขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าที่เปลี่ยนไป ในที่นี้การเคลื่อนที่ของแกนเหล็กจะแปรผันโดยตรงกับน้ำหนักที่วัดนั่นเองสำหรับโหลดเซลล์รูปแบบนี้มีความทนทานมากและยังคงมีใช้อยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมรีดโลหะ

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Conversion Unit แปลงหน่วยต่างๆ


    Pressure-conversion-chartFull page fax print Full page fax printFull page fax printFull page fax printFull page fax print
LPG-Conversion-Table
Metric-to-Imperial1 Metric-to-Imperial-2-1    
Full page fax print
Vapour-Pressures-of-LP-Gases

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานท่อ

1.คำและความหมาย (Terminology)
                การแปลคำศัพท์เทคนิคภาษอังกฤษเป็นภาษาไทย ให้กระชับและเข้าใจง่าย เป็นเรื่องที่มีปัญหามาโดยตลอด  บางครั้งอาจทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด  ดังนั้นจึงขอให้ท่านผู้อ่านใช้คำแปลและ/หรือความหมาย  ที่ได้อธิบายต่อไปนี้  ในการทำความเข้าใจเนื้อหาข้อมูล และตาราง
Englishไทยความหมาย
Alloy  Steelเหล็กกล้าผสมเหล็กกล้าที่มีการผสมธาตุอื่นนอกจากคาร์บอน เพื่อเพิ่มคุณสมบัติของเหล็กทั้งในเชิงกายภาพและทางเคมี
Butt Weldต่อชนเชื่อม 
Beveled Endปลายบากปลายท่อหรือ Fittings ที่บากเป็นมุมเพื่อเตรียมไว้ในการเชื่อมต่อชน
Couplingข้อต่อตรงอุปกรณ์ที่ใช้ในการต่อตรง มีปลายเป็นเกลียวตัวเมีย หรือมีปลายเป็น Socket
Cast Ironเหล็กหล่อเหล็กที่มีส่วนผสมของคาร์บอนเกินกว่า 2.0%
Cast  Steelเหล็กเหนียวหล่อ
-
Dimensionมิติได้แก่ ความกว้าง,ความยาว,ความสูง เป็นต้น มักสับสนกับคำว่า ขนาด ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า Size
Ductile Cast Ironเหล็กหล่อเหนียว
-
Elbowข้องออุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนทิศทางการเดินท่อ
End Connectionชนิดของปลายเป็นการระบุชนิดของปลายอุปกรณ์ท่อ เช่น BW , SW หรือ Flange เป็นต้น
Fittingฟิตติ้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการเดินท่อตรง,เลี้ยว,ลด,แยก ฯลฯ ได้แก่ Elbows,Reducers,Tees,Cross,Coupling และ Cap เป็นต้น
-อุปกรณ์ท่อได้แก่ Fittings , Flanges , Valves , Studs-Nuts และGaskets เป็นต้น
Flat Faceหน้าเรียบผิวหน้าของหน้าแปลนเป็นแบบเรียบ
Forged Steelเหล็กขึ้นรูปเหล็กที่ผลิตโดยการขึ้นรูป ณ อุณหภูมิสูง
Nippleข้อต่ออุปกรณ์ข้อต่อที่มีปลายเป็นเกลียวตัวผู้
NPT-มาตรฐานเกลียวท่อของ ASME เป็นเกลียวแบบ Taper
Pipe ,Tubeท่อผลิตภัณฑ์ทรงกลวงที่มีความยาวต่อเนื่อง
P-T Rating-ย่อมาจาก Pressure - Temperature Rating เป็น ค่าความดันสูงสุดโดยประมาณ (maximum working pressure) ที่อุปกรณ์ท่อทนได้อย่างต่อเนื่อง ณ อุณหภูมิที่กำหนด
Plain Endปลายตัดปลายท่อที่ตัดตรง ไม่มีการบากมุม
Raised Faceหน้ายกผิวหน้าของหน้าแปลน ยกต่างระดับ
Reducerข้อลดอุปกรณ์ที่ใช้ต่อท่อต่างขนาดกัน
Sizeขนาดขนาดที่ผลิตตามมาตรฐาน เช่น NPS 8 ,DN 200 เป็นต้น
Socket Weldสวมเชื่อม-
Steelเหล็กกล้าเหล็กที่มีส่วนผสมของคาร์บอนไม่เกิน 2.0 %
Stainless Steelเหล็กกล้าไร้สนิมเหล็กกล้าที่ผสมโครเมียมอย่างน้อย 10.5%
Teeสามทางอุปกรณ์ที่ใช้ต่อท่อแยก
Thread,Screwเกลียว-
Valvesวาล์วประตูน้ำ
Valve Bodyเรือนวาล์ว-
กรรมวิธีผลิตท่อเหล็ก
(Steel Pipe Manufacturing Process)
             ท่อเหล็กกล้าที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน แบ่งตามกรรมวิธีการผลิตได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ ท่อเชื่อมตะเข็บ (Welded pipe) และท่อไร้ตะเข็บ (Seamless pipe)
             1.ท่อเชื่อมตะเข็บ (Welded pipe)
              ท่อชนิดนี้ผลิตโดยการนำแผ่นเหล็กมาม้วน – เชื่อม ซึ่งวิธีการม้วนทำให้ทั้งม้วนตามแนวยาว หรือม้วนแบบ Spiral ท่อตะเข็บแบ่งประเภทตามวิธีการเชื่อมตะเข็บดังต่อไปนี้
             Electric  Resistance  Welding  (ERW เป็นวิธีการเชื่อมโดยอาศัยแรงอัด (pressing) ในขณะที่ตะเข็บหลอมละลายด้วยความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้า โดยไม่มีการอาร์ค (arc) กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่เหล็กแผ่นออกจากคอยล์ จากนั้นจะค่อยๆม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง ผ่านลูกรีดหลายแท่นโดยไม่ต้องใช้ความร้อน (cold forming) แล้วทำการผ่านกระแสไฟฟ้าตกคร่อมระหว่างขอบทั้งสองของตะเข็บ ความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้าจะทำให้ขอบของเหล็กร้อนแดงที่อุณหภูมิระหว่าง 1200 °ถึง 1400°C(2200°F ถึง 2600°F) แล้วจึงกดอัดให้ตะเข็บติดกัน ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้จะมีตะเข็บตรง (Longitudinal welded seam)
                Butt  Weld  (BW) หรือ  Continuous  Butt  Welding  (CBWบางครั้งก็ถูกเรียกว่า Furnace Butt  Welding ( FBW) หรือ Hot  Pressure Welding เป็นวิธีการเชื่อมโดยอาศัยแรงอัด (pressing) ในขณะที่ตะเข็บร้อนแดงด้วยความร้อนจากเตาเผา  กรรมวิธีผลิตเริ่มต้นด้วยการคลี่เหล็กแผ่นออกจากคอยล์  จากนั้นป้อนแผ่นเหล็กผ่านเตาเพื่อทำการให้ความร้อน  โดยแผ่นเหล็กจะได้รับความร้อนทั่วทั้งแผ่น  แต่ด้วยเทคนิคการจัดเรียงหัวเผาในเตา จัดให้บริเวณขอบแผ่นเหล็กร้อนที่สุด จากนั้นค่อยๆ ม้วนเหล็กแผ่นให้เป็นรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง  โดยผ่านลูกรีดหลายแท่น (hot forming) แล้วจึงกดอัดให้ตะเข็บติดกัน ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้จะมีตะเข็บตรง (Longitudinal welded seam)
                Electric Fusion  Welding  (EFW)  เป็นกระบวนการเชื่อมที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการอาร์คบริเวณแนวเชื่อมให้หลอมละลายติดกัน โดยอาจใช้ลวดเชื่อม (filler metal) หรือไม่ใช้ก็ได้  กระบวนการเชื่อม Fusion Welded นี้มีด้วยกันหลายวิธี เช่น Submerge Arc  Welding   (SAW),Double Submerge Arc Welding (DSAW  ซึ่งเหมือน SAW แต่เป็นการเชื่อมตะเข็บทั้งด้านนอกและด้านใน),Gas Tungsten Arc Welding (GTAW หรือ TIG)และGAS Metal Arc Welding (GMAW หรือ MIG) เป็นต้น การผลิตท่อด้วยกระบวนการเชื่อม Fusion Welded มีทั้งแบบตะเข็บตรง (Longitudinal welded seam) และตะเข็บ Spiral (Spiral  welded seam) ดังนี้
                -ท่อเชื่อมตะเข็บตรง ขึ้นรูปต่อเนื่อง ขั้นตอนการขึ้นรูปคล้ายกับวิธี ERW
                -ท่อเชื่อมตะเข็บตรง ขึ้นรูปแบบ U- O ใช้วิธีการกดแผ่นเหล็กแต่ละชิ้น ให้เป็นรูปตัว ² U ² จากนั้นจึงกดต่อให้เป็นตัว ² O ² แล้วจึงทำการเชื่อม ท่อที่ผลิตด้วยวิธี U- O นี้เรียกว่า UO Pipe UOE
                -ท่อเชื่อมตะเข็บ Spiral ขึ้นรูปอย่างต่อเนื่องด้วยการคลี่แผ่นเหล็กออกจากคอยล์ แล้วม้วนเป็น Spiral แนวเชื่อมจะมีลักษณะวนคล้ายขดสปริง  ซึ่งบางทีก็เรียกว่า Helical ท่อที่ผลิตด้วยวิธีนี้เรียกว่า Spiral Pipe
2. ท่อไร้ตะเข็บ (Seamless Pipe)
                ผลิตจากแท่งเหล็ก (Steel billet) ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้แท่งเหล็กตัดกลม วิธีการผลิตเริ่มจากการให้ความร้อนแท่งเหล็กที่อุณหภูมิประมาณ 1230°C  (2250°F) จากนั้นแท่งเหล็กที่ร้อนแดงจะถูกหมุนและดึงด้วยลูกรีดผ่านแท่งทะลวง (piercing  rod  mandrel) ลูกรีดจะดึงให้เนื้อโลหะไหลผ่านแท่งทะลวงทำให้เกิดเปลือกท่อกลวง  (hollow  pipe  shell) ขึ้น หลังจากนั้นจะให้ความร้อนอีกครั้งแล้วจึงรีดท่อโดยมี Support  Bar อยู่ด้านใน เพื่อปรับให้ได้ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความหนาของผนังที่ต้องการ
                อย่างไรก็ตามในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตท่อเหล็กกล้า จะต้องมีการรีดท่อเพื่อปรับแต่งขนาดและความหนาของท่อให้ตรงตามมาตรฐานหรือความต้องการของลูกค้า ซึ่งการรีดขั้นสุดท้ายมีทั้งรีดร้อน/รีดเย็น  รีดทั้งท่อเชื่อมตะเข็บและท่อไร้ตะเข็บ ซึ่งก็จะมีชื่อเรียกตามวิธีการและชนิดของท่อ เช่น Hot  Finish  Seamless (HFS) Cold  Drawn Seamless (CDS) Cold  Drawn Welded (CDW) เป็นต้น
ความหมายของ Tube  และ Pipe
                Tube ในความหมายโดยรวม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ทรงกลวงที่มีความยาวต่อเนื่อง มีหน้าตัดเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น กลม , สี่เหลี่ยมจัตุรัส และสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นต้น ซึ่งเมื่อพิจารณาความหมายโดยรวมนี้ ก็สรุปความได้ว่า  Pipe ก็คือ ประเภทหนึ่งของ Tubeนั่นเอง
                เมื่อกล่าวถึง Tube  และ Pipe ในเชิงพาณิชย์ของ ²ผลิตภัณฑ์ท่อ² มักเกิดความสับสนขึ้นเสมอ เพราะแต่ละมาตรฐานหรือแต่ละประเทศก็เรียกผลิตภัณฑ์ท่อ Tube  และ Pipe ในความหมายที่แตกต่างกันออกไป  ผู้เขียนขอสรุปความตามที่หนังสืออ้างอิงที่น่าเชื่อถือส่วนใหญ่ได้ให้ความหมายเอาไว้ ซึ่งจะสอดคล้องลงตัวกับรายละเอียด ดังต่อไปนี้
                Tube ในงานท่อหมายถึง ผลิตภัณฑ์ท่อที่กำหนดขนาดโดยการระบุค่า Outside Diameter (ค่ามิติจริงของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก) และกำหนดความหนาของผนังท่อเป็นมิลลิเมตร หรือนิ้ว หรือ Gauge ในการใช้งานส่วนใหญ่ของ  Tube นั้นมักถูกใช้เป็นท่อขนาด เล็กภายในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Heat Exchangers , Air – compressors , และ Boilers Refrigerators ผลิตภัณฑ์ Tube ที่ใช้งานส่วนใหญ่มีขนาดเริ่มตั้งแต่ OD. 1/8 นิ้ว (3.175 mm) ถึง 3 นิ้ว (76.2 mm) ส่วน Tube ที่ขนาดใหญ่กว่า 3 นิ้ว ก็มีใช้งานอยู่บ้างแต่มีน้อยมาก
                  Pipe หมายถึง ผลิตภัณฑ์ท่อที่กำหนดขนาดโดยการระบุค่า Nominal Size เช่น ประเทศสหรัฐอเมริการะบุขนาดเป็น Nominal Pipe Size (NPS) และนานชาติระบุขนาดเป็น Diameter Nominal (DN) ส่วนประเทศญี่ปุ่นระบุขนาดเป็น Nominal Diameter(ND) ซึ่งทั้งสามชื่อเป็นขนาดที่เป็นเพียงชื่อเรียกเท่านั้น อาจจะไม่ใช่ค่าจริงของเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก  สำหรับความหนาของผนังท่อถูกกำหนดเป็น Schedule Number หรือ Weight Class โดยส่วนใหญ่ Pipe มักถูกใช้เป็นท่อที่เชื่อมต่อจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ผลิตภัณฑ์  Pipe ที่ใช้งานส่วนใหญ่มีขนาดเริ่มตั้งแต่ NPS 1/8 (DN 6) ถึง NPS 80 (DN 2000) หรือใหญ่กว่านี้ในกรณีพิเศษ ขอให้ศึกษาเรื่องขนาดท่อเพิ่มเติมในหัวข้อเรื่อง²ขนาด , มิติ และ ความหนาท่อ (Pipe Size Dimensions)²

ที่มา : หนังสือ คู่มืองานท่อ ของ นายประสิทธิ์ เรืองแก้ว

เกลียว PT,NPT,BSPT แตกต่างกันอย่างไร

ขอบคุณ คุณ ssuebsak เป็นข้อมูลคร่าวๆนะครับ

PT = Pipe Thread รหัสเรียก เกลียวท่อ ของ JIS-0203 Standard เท่ากับ ระบบ BSPT
NPT = National Pipe Thread Taper มาตรฐาน เกลียวท่อ ระบบอเมริกัน
BSPT = British Standard Pipe Thread มาตรฐาน เกลียวท่อ ระบบอังกฤษ



ชื่อเรียก ตามมาตรฐานเกลียว ของ อเมริกัน

•NPT - National Pipe Thread Taper
•FPT - female (internal) National Pipe Taper threads
•MPT - male (external) National Pipe Taper threads
•NPTF - Dryseal American National Standard Taper Pipe Thread (ANSI B1.20.3)

ลักษณะ บัญญัตไว้ใน ANSI/ASME B1.20.1 Pipe Threads, General Purpose

และก็มีที่ บัญญัต ไว้ใน ISO คือ

ISO 7-1:1994...Pipe threads where pressure-tight joints are made on the threads -- Part 1: Dimensions, tolerances and designation

ISO 7-2:2000...Pipe threads where pressure-tight joints are made on the threads -- Part 2: Verification by means of limit gauges..As yet there is no English /European equivalent of this standard(BS EN 10226-2 is in preparation). In the UK the current equivalent standard is BS 21

ส่วนของ อังกฤษ ที่บัญญัติไว้ก่อน คือ

BS 21:1985 :...Specification for pipe threads for tubes and fittings where pressure-tight joints are made on the threads (metric dimensions)..Part Superseded. This standard is applicable only for longscrew threads and Taper int/Taper ext thread combinations

BS EN 10226-1:2004 :..Pipe threads where pressure tight joints are made on the threads. Taper external threads and parallel internal threads. Dimensions, tolerances and designation ..Part Supersedes BS 21

BS 2779:1986 :...Specification for pipe threads for tubes and fittings where pressure-tight joints are not made on the threads (metric dimensions)..Superseded Withdrawn

BS EN ISO 228-1:2003 :...Pipe threads where pressure-tight joints are not made on the threads. Dimensions, tolerances and designation ..Supersedes BS 2779

BS EN ISO 228-2:2003 :...Pipe threads where pressure-tight joints are not made on the threads. Verification by means of limit gauges /

การใช้เครื่องเชื่อมก๊าซ

การใช้เครื่องเชื่อมก๊าซ

การเชื่อมก๊าซเป็นวิธีการเชื่อมแพร่หลาย เหมาะสำหรับการเชื่อมต่อโลหะที่เป็นแผ่นบาง เพราะการเชื่อมด้วยไฟฟ้าทำไม่ได้เนื่องจากมีอุณหภูมิสูง แผ่นโลหะหลอมตัวมากไฟ พบมากใช้ในโรงงานหล่อหลอมโลหะ โรงงานตัดเรือเหล็ก อู่เคาะพ่นสี ร้านทำท่อไอเสียรถยนต์ และงานซ่อมบำรุงประจำโรงงาน อันตรายของเครื่องเชื่อมก๊าซได้แก่ ท่อบรรจุก๊าซระเบิด แสงจ้าจากการเชื่อม เปลวไฟจากหัวเชื่อมและฟูมหรือก๊าซพิษ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมก๊าซ
1. ท่อบรรจุก๊าซ ออกซิเจน อะซิติลีน หรือถังก๊าซปิโตรเลียมเหลว
2. ชุดควบคุมความดันก๊าซ ทำหน้าที่ลดความดันให้เหมาะสมที่จะจ่ายไปใช้งาน
3. มาตรวัดความดันก๊าซ มี 2 ชุด มาตรวัดความดันสูงใช้วัดความดันในท่อบรรจุก๊าซ มาตรวัดความดันต่ำวัดความดันที่จ่ายไปใช้งาน
4. สายส่งก๊าซ มี 2 เส้น สำหรับก๊าซออกซิเจนและก๊าซอะเซทิลีน ส่วนก๊าซปิโตรเลียมเหลวจะใช้สายเดียว
5. หัวเชื่อมหรือหัวตัด ทำหน้าที่ผสมก๊าซทั้ง 2 ชนิดและทำหน้าที่ปรับเปลวไฟ
6. อุปกรณ์จุดประกายไฟ ทำหน้าที่ก่อให้เกิดประกายไฟสำหรับหัวเชื่อมหรือหัวตัด
7. ลวดเชื่อม ทำหน้าที่ประสานชิ้นงานเข้าด้วยกัน
8. อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น แว่นตากรองแสง ถุงมือ และรองเท้านิรภัย

การเชื่อมโลหะด้วยก๊าซอย่างปลอดภัย
1. อุปกรณ์การเชื่อมหรือตัด
1.1 ท่อบรรจุก๊าซ ออกซิเจน อะเซติลีนหรือปิโตรเลียมเหลว จะต้องได้มาตรฐานและมีการตรวจสอบตามระยะเวลาที่กำหนด
1.2 ชุดควบคุมความดันก๊าซ สามารถควบคุมก๊าซที่จ่ายออกมาคงที่สม่ำเสมอ และได้มาตรฐานหรือมีสถาบันรับรอง
1.3 มาตรวัดความดัน จะต้องตกศูนย์เมื่อไม่มีความดัน ถ้ามีความดันเข็มจะเคลื่อนที่อย่างไม่ติดขัดหรือค้างเป็นช่วงๆ
1.4 ปลายสายส่งก๊าซออกซิเจนจะใช้ข้อต่อแบบเกลียวขวา ส่วนปลายท่อส่งก๊าซเชื้อเพลิงจะใช้เกลียวซ้าย ป้องกันการต่อสายสลับกัน
2. ช่างเชื่อม เพื่อความปลอดภัยควรมีคุณสมบัติหรือต้องปฏิบัติเช่นเดียวกับช่างเชื่อมไฟฟ้า
2.1 ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องเชื่อมและวิธีการเชื่อมแก๊สมาอย่างดี
2.2 ควรได้รับการฝึกให้ใช้อุปกรณ์ดับเพลิง
2.3 ต้องแต่งกายให้เหมาะสม เช่น สวมเสื้อแขนยาว และกางเกงขายาวทำด้วยผ้าเนื้อหนา
2.4 รู้จักใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น หน้ากากกรองแสงสำหรับเชื่อมแก๊ส รองเท้านิรภัยชนิดหุ้มข้อแบบไม่ใช้เชื่อกผูก ถุงมือหนัง เสื้อหนังสำหรับงานเชื่อม และผ้าคลุมหน้าอกและลำตัวหรือเอี๊ยม เป็นต้น
3. บริเวณที่ปฏิบัติงาน เพื่อความปลอดภัยควรมีลักษณะเช่นเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้น
4. การเชื่อมหรือตัดด้วยก๊าซเพื่อความปลอดภัย
4.1 ท่อก๊าซที่นำไปใช้งานต้องวางห่างจากแหล่งความร้อน และยึดแน่นไม่ล้มง่าย
4.2 ตรวจสอบรอยรั่วของก๊าซที่บริเวณชุดควบคุมความดันด้วยฟองสบู่โดยเน้นบริเวณรอยต่อของวาล์วกับท่อก๊าซ และควรทำทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนท่อก๊าซใหม่
4.3 ตรวจสอบรอยรั่วของสายส่งก๊าซ โดยการเปิดก๊าซผ่านเข้าท่อส่งก๊าซทั้งสอง แล้วปิดวาล์วที่หัวเชื่อมไว้ นำสายส่งก๊าซจุ่มลงในน้ำ ถ้ามีการรั่วจะเกิดฟองน้ำผุดขึ้นมา
4.4 ตรวจสอบรอยรั่วที่วาล์วของหัวเชื่อม และรอยต่อสายส่งก๊าซด้วยฟองสบู่
4.5 ปรับตั้งแรงดันก๊าซออกซิเจนและก๊าซอะเซทิลีนหรือก๊าซอื่นให้เหมาะสมก่อนใช้งาน
4.6 การจุดไฟที่หัวเชื่อมควรใช้อุปกรณ์จุดไฟโดยเฉพาะไม่ควรใช้ไม้ขีด
4.7 การจุดไฟที่หัวเชื่อมเริ่มจากการเปิดวาล์วก๊าซอะเซทิลีนก่อนโดยให้ก๊าซออกมาเล็กน้อย แล้วจุดประกายไฟ เมื่อไฟติดจึงเปิดวาล์วก๊าซออกซิเจน จากนั้นปรับเปลวไฟให้ได้ตามต้องการ ส่วนการปิดก็ให้ปิดวาล์วก๊าซอะเซทิลีนก่อนแล้วจึงปิดวาล์วออกซิเจนตาม
4.8 ท่อก๊าซที่ยังไม่ได้ใช้งานควรมีฝาครอบวาล์วปิดไว้ ท่อที่ใช้แล้วควรมีป้ายบอกและแยกเก็บเป็นสัดส่วน
4.9 ห้ามใช้น้ำมันหรือจารบีในการหล่อลื่นข้อต่อก๊าซทุกจุด
4.10 การเปิดวาล์วจากท่อออกซิเจน ควรเปิดช้าๆ เพราะความดันภายในท่อออกซิเจนสูงมาก การเปิดอย่างรวดเร็วอาจเกิดอันตรายได้
4.11 ห้ามเชื่อมหรือใช้หัวตัดด้วยก๊าซโดยไม่สวมแว่นตากรองแสงที่เหมาะสม




ลวดเชื่อมแก๊ส (Filler Rod)

ลวดเชื่อมแก๊ส หมายถึง โลหะที่ใช้เติมลงในบ่อหลอมเหลวขณะทำการ
เชื่อมด้วยแก๊ส ซึ่งจะมีส่วนผสมของธาตุต่าง ๆ ที่มีสมบัติใกล้เคียงกับโลหะชิ้นงานมากที่สุด และยังสามารถเพิ่มสมบัติทางเชิงกลของแนวเชื่อมให้ดียิ่งขึ้น
4.1สมบัติของลวดเชื่อมแก๊ส
ของลวดเชื่อมแก๊ส จะเป็นลวดเชื่อมเปลือย (Bare) ทรงกลมผิวจะเคลือบด้วยทองแดง เพื่อให้ทนต่อสภาพอากาศและเก็บรักษาไว้ได้นาน ป้องกันการเกิดสนิมได้ง่าย ลวดเชื่อมแก๊สจะมีขนาดตั้งแต่ 2 – 6 มิลลิเมตร
4.2ประเภทของลวดเชื่อมแก๊ส
ลวดเชื่อมแก๊สแบ่งตามชนิดของโลหะที่ใช้ในการผลิตได้ 2 ประเภท คือ
4.2.1 ลวดเชื่อมแก๊สที่เป็นเหล็ก จะมีส่วนผสมของธาตุเหล็ก เป็นหลักและจะมีส่วนผสมของธาตุอื่นเล็กน้อย เพิ่มธาตุคาร์บอน แมงกานีส ซิลิคอน และฟอสฟอรัส เป็นต้น ซึ่งการเชื่อมโลหะที่เป็นเหล็กนี้จะใช้ฟลั๊กซ์หรือไม่ใช้ก็ได้
4.2.2 ลวดเชื่อมแก๊สที่ไม่ใช่เหล็ก ใช้ในการเชื่อมโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลืองเป็นต้น และการเชื่อมโลหะประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้ฟลักซ์ เพื่อช่วยในการประสานได้ดี ลวดเชื่อมทั้งสองชนิดนี้ อาจจะทำเป็นเส้นหรือม้วนก็ได้ โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางและความยาว
4.3 มาตรฐานสัญลักษณ์ลวดเชื่อมแก๊ส
มาตรฐานลวดเชื่อมแก๊สที่จำแนกโดยสมาคมการเชื่อมของประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรฐาน AWS (American Welding Society) ได้กำหนดชนิดและสมบัติของลวดเชื่อมแก๊สเป็นตัวอักษรและตัวเลข เช่น
GA – 50 GA – 60
GB – 60 GB – 65
ซึ่งมีความหมายดังนี้
ตัวอักษร G หมายถึง ลวดเชื่อมแก๊ส
A หมายถึง ลวดเชื่อมที่มีสมบัติยึดตัวสูง
(High Ductility)
B หมายถึง ลวดเชื่อมที่มีสมบัติยืดตัวต่ำ
(Low Ductility)
ตัวเลข 50 , 60 และ 60 หมายถึง ค่าความต้านแรงดึงต่ำสุดที่แนวเชื่อมทนได้คูณด้วย 1,000 มีหน่วยเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้ว
ตัวอย่าง GA – 65
G = ลวดเชื่อมแก๊ส
A = ลวดเชื่อมที่มีสมบัติยืดตัวสูง
65 = แนวเชื่อมรับแรงดึงได้ต่ำสุด 65,000 ปอนด์ต่อ
ตารางนิ้ว (65 X 1,000 = 65,000 PSI)

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ท่ิอ ไซฟอน Gauge Syphon

รูป ท่อไซฟอน



ที่มารูป dfs-gaugesดอทcom





ไซฟอน ใช้กันอย่างแพร่หลายในการป้องกันมาตรวัดความดันจากผลของการสื่อความดันสูงเช่นไอน้ำ มันจะใช้แม้กระทั่งการลดผลกระทบจากไฟกระชากแรงดันอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการสัมผัสโดยตรง, ไอน้ำคอนเดนเสทภายในขดลวดของไซฟอน


********แปลมาอีกทีครับ

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การสังเคราะห์น้ำมันจากพลาสติกเก่า

 ปัญหาวิกฤตพลังงานที่เกิดขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาทำให้ทุกภาคส่วนเร่งหาพลังงานทดแทนกันมากขึ้น จนสามารถคิดค้นเครื่องจักรผลิตน้ำมันจากขยะพลาสติกได้ในไทยแล้ว

            กระบวนการผลิตขยะพลาสติกเป็นนั้มัน
            
ขั้นแรกใช้รถแบ็กโคตักขยะใส่ตะแกรงร่อนเอาเศษขยะอื่น ๆ ออก นำเข้าเครื่องล้างขยะ ขั้นตอนต่อไปนำเข้าเครื่องย่อยขยะ จากนั้นเข้าสู่เครื่องอบแห้ง สุดท้ายนำเข้าเครื่องไพโรไลซิส หรือ เครื่องปฏิกรณ์ ซึ่งเป็นกระบวนการแปรสภาพพลาสติกเป็นน้ำมัน
             กรรมวิธีคือใช้เครื่องอัดไฮดรอลิกอัดพลาสติกจากข้างบนลงล่างตลอดเวลา ส่วนข้างล่างใช้เตาเผาหลอมละลายพลาสติก พลาสติกจะกลายเป็นของเหลวและเปลี่ยนเป็นก๊าซในถังปฏิกรณ์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Pyrolysis) เมื่อก๊าซถูกทำให้เย็นลง พร้อมปรับสภาพ โดยส่งไปควบแน่นด้วยระบบหล่อเย็นจนเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง
              น้ำมันที่ได้จากการกลั่น ต้องมีการปรับสภาพน้ำมันก่อนจึงนำไปใช้ได้  เช่น เมื่อผสมกับดีเซลอย่างละครึ่ง สามารถใช้ได้กับรถกระบะอีซูซุ ดีแม็คซ์ เครื่องยนต์คอมมอนเรลได้ดี
 





ที่มาข้อมูล : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ 
ฉบับวันพฤหัสที่ 4-7 ธ.ค. 2551